ตำนาน

ประวัติความเป็นมา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

สภาพที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอกุดบากตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสกลนครมีพื้นที่ 455 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 284,375 ไร่ ห่างจากจังหวัดสกลนครประมาณ 54 กิโลเมตรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 40 หมู่บ้านมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

อำเภอเมืองประกอบไปด้วย 3 ตำบลดังนี้
1. ตำบลกุดไห
2. ตำบลกุดบาก
3. ตำบลนาม่อง

ประวัติและความเป็นมาอําเภอกุดบาก
หลักฐานการตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในอำเภอกุดบาก ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยวัฒนธรรมขอมราวพุทธศตวรรษที่ 17 ปรากฏหลักฐานการประดิษฐ์ฐานรูปเคารพทางศาสนาและจารึกโดยครูโสมังคลาจารย์ ณ เพิงผา วัดภูถ้ำพระ บ้านหนองสะไน ตำบลนาม่อง จึงนับเป็นหลักฐานสำคัญระบุให้เห็นว่า พื้นที่อำเภอกุดบากในอดีตเคยมีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 โดยต่อเนื่องมาจนกระทั่งเข้าสู่ในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ดังพบหลักฐานประเภทภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ไหเคลือบทรงสูง จากกลุ่มเตาลุ่มน้ำสงคราม บรรจุเถ้ากระดูกฝังดินในหลายหมู่บ้านในเขตอำเภอกุดบาก

อ่างเก็บน้ำห้วยกะเฌอ ตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก

เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์จึงเริ่มมีผู้คนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามพื้นที่แถบนี้ยังคงเป็นพื้นที่ป่าผืนเดียวต่อจากเทือกเขาภูพาน ถึงไม่มีราษฎรขึ้นไปอาศัยอยู่มากนัก ในระยะหลังจึงเริ่มมีผู้คนเข้าไปจับจองพื้นที่ตั้งถิ่นฐานทำไร่นาสวนและเก็บหาของป่าเลี้ยงชีพ โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงแต่เดิมตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบริมฝั่งหนองหานเมืองสกลนครแถบบ้านนายอ บ้านนามน บ้านโพนงาม สมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่พบว่าหลายหมู่บ้านในท้องที่อำเภอกุดบากมีราษฎรเป็นชาติพันธุ์ไทกะเลิงสำหรับบ้านกุดบากก่อนเป็นอำเภอกุดบากในปัจจุบันนี้ มีนายเชียงพล นางผันและพระนนท์ ได้พาราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้ภูคำเกียง (ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านกุดบาก) เขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน จากนั้นย้ายที่ทำมาหากินมายังบริเวณห้วยวังทับ (ทิศใต้ของบ้านนาขาม) ต่อมาได้เกิดโรคห่าระบาด (โรคอหิวาตกโรค) อีกทั้งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้การทำมาหากินฝืดเคืองจึงได้หาพื้นที่ทำมาหากินใหม่ จนได้พบพื้นที่บริเวณหนองน้ำที่มีต้นบากขึ้นเป็นจำนวนมากจึงให้ชื่อว่า “บ้านกุดบาก” แห่ที่ใช้ชื่อนี้เนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน มี “ กุด” ตามภาษาถิ่นหมายถึงสายลำน้ำที่ลัดทางเดิน “กุด” ขาดออกไปกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดรูปแออวัว ขนาดย่อมขังตัวอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มหรือที่ราบสูงในทางภูมิศาสตร์อธิบายว่า “ทะเลสาบรูปแอก” เกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินทำให้เส้นทางเก่าถูกตัดขาดออกจากกันกลายเป็นหนองน้ำ บางครั้งเรียกว่า “หลง” (แม่น้ำหลงทาง) และ “ต้นไม้กะบาก” คนท้องถิ่นทั่วไปเรียกว่า ไม้บาก เป็นไม้เนื้ออ่อนใช้สำหรับทำเป็นไม้แบบในงานก่อสร้าง มีอยู่ทั่วไปในกุดเมื่อรวมเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า กุดบาก หมายถึงหนองน้ำที่มีไม้กะบากขึ้นอยู่ ภายหลังมีราษฎรกลุ่มชาติพันธุ์ปูไทยและไทยลาวอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ปะปนกันอีกหลายชุมชน

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2507 ทางราชการได้รวมตำบลกุดไห ตำบลนาม่อง และตำบลกุดบาก ตำบลรวม 3 ตำบล ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอกุดบาก อำเภอเมืองสกลนครครั้งถึงพุทธศักราช 2510 กิ่งอำเภอกุดบากจึงได้รับการยกเลิกฐานะขึ้นเป็นอำเภอกุดบาก ขึ้นจังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร

แชร์ไปที่

Facebook
Twitter
Email

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น