วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ ภายในวัดมีหอกลองหรือหอระฆัง เป็นหอสูงทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้มาพำนักอาศัยที่จังหวัดสกลนครร่วมใจกันสร้างขึ้นถวายองค์พระธาตุเพื่อเป็นพุทธบูชาใช้บอกเวลายาม นอกเหนือจากนี้ยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์ พระธาตุเชิงชุม ซึ่งในอดีตจะมีการนำน้ำจากบ่อ ไปประกอบพิธีกรรมอันสำคัญต่าง ๆ และภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม ที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร
ถ้ำผาแด่นงดงามด้วยงานแกะสลักบนหน้าผาหิน ที่มีเอกลักษณ์วิจิตรศิลป์ สวยสดงดงามถ่ายทอด เรื่องราว พุทธประวัติ เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสกลนคร มีความเป็นมานับร้อยปี เอกลักษณ์ของวัดถ้ำผาแด่น คือ งานประติมากรรมแกะสลักหินทรายขนาดใหญ่ ซึ่งแกะสลักเป็นเรื่องราวพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ภาพพระอริยสงฆ์รูปต่าง ๆ และพระพุทธสีหไสยาสน์ ที่สักการบูชาสำคัญประจำวัด ประดิษฐานท่ามกลางธรรมชาติร่มรื่นเป็นจุดเด่น อีกแห่งของวัดถ้ำผาแด่น นอกเหนือจาก รูปแกะสลักอันสวยงามและเต็มไปด้วยความหมายแล้ว วัดถ้ำผาแด่นยังมีจุดชมวิว ที่สวยงามมองเห็นป่าไม้เต็งรังไกลสุดลูกหูลูกตาให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปไว้เป็นความทรงจำ และปัจจุบันนี้ได้พัฒนาวัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะ เพื่อดึงดูดประชาชน และกลุ่มวัยรุ่น ให้เข้าวัดมากขึ้น วัดตั้งอยู่บนภูเขาสูง ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น โดยมีการจัดพื้นที่ ให้สามารถชมทิวทัศน์และถ่ายรูป บริเวณศาลาผาแดงที่มองเห็นตัวเมืองสกลนครและทะเลสาบหนองหารได้แบบ 180 องศา
พญาเต่างอย ตั้งอยู่ในอำเภอเต่างอย อยู่ทางทิศใต้ของ จังหวัดสกลนคร โดยตำนานพญาเต่างอยถูกกล่าวขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีก่อน ในขณะนั้นประเทศไทยได้ทำสงครามกับประเทศลาว แต่ลาวพ่ายแพ้ จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย เมื่อเดินทางมาถึงลำน้ำพุง ซึ่งเป็นลำน้ำขนาดใหญ่และมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้คนในสมัยนั้นเห็นว่า ในบริเวณนี้น่าจะมีพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย จึงได้ตั้งถิ่นฐาน ที่อยู่อาศัยขึ้น โดยตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านเต่างอย” ตามสถานที่ที่พบเห็นเต่าที่กำลังลอยริมฝั่งแม่น้ำ (เต่างอย หมายถึง เต่าที่กำลังอยู่บนที่สูงที่เป็นริมตลิ่งหรือโขดหิน) และตั้งแต่นั้นมา หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีสัญลักษณ์เป็นรูปเต่า และได้ตั้งชื่ออำเภอว่า เต่างอย
โดยพญาเต่างอยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดทั้งมวลของอำเภอเต่างอยไว้ในตัวพญาเต่างอย มีความเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้มาสักการบูชาพญาเต่างอย จะส่งผลให้อายุยืนยาว ตลอดจนมีโชคลาภ ดังนั้น ในทุกวันนี้จึงมีผู้คนเดินทางไปกราบไหว้พญาเต่างอยอย่างไม่ขาดสาย
ชุมชนคาทอลิกท่าแร่ เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทยและ เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ที่หมู่บ้านนี้ มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางในถนนสายหลักของหมู่บ้าน และทุกวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี ชุมชนแห่งนี้จะจัดเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส โดยจัด “ขบวนแห่ดาวคริสต์มาส” แสงไฟสีสันสวยงามกับขบวนรถดาวที่เข้าร่วมกว่า 100 คัน เป็นการเฉลิมฉลองท่ามกลางอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว นอกจากขบวนแห่ก็ยังมีสินค้า ร้านอาหารและการแสดงให้ชมกันตลอดทั้งคืนใน วันคริสต์มาส
อุทยานเฉลิมบัวพระเกียรติ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่าง ๆ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติปี พ.ศ.2553 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ ภายในอุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ ยังเป็นที่ตั้งของรูปปั้นพญานาคเผือกขนาดใหญ่สีขาว โดยประชาชน ชาวสกลนครและนักท่องเที่ยว มีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงให้ความเคารพพญานาค ซึ่งตามตำนานของชาวเมืองสกลนครเชื่อว่า พญานาคช่วยปกป้องรักษาบ้านเมือง ช่วยคุ้มครองทะเลสาบหนองหาร บึงน้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 78,000 ไร่ ส่งผลให้ประชาชนมีความสงบสุขร่มเย็น
ในคืนวันที่ 4 มกราคม ปีพ.ศ.2520 พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุ 78 ชันษา และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2521 ที่วัดป่าอุดมสมพร คณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้นผู้เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยตกลงกันว่าจะสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน ภายในจะมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น ขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่ชาตะจนมรณภาพ ไว้เป็นแหล่งศึกษาธรรมะและชีวประวัติพระอาจารย์องค์สำคัญของประเทศไทย
หนองหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมและเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ที่นี่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ปลาน้ำจืด นกน้ำ และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย บางแห่งชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงเช่น หมูป่า แพะ ไปปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ ถึงเวลาจะเรียกสัตว์เลี้ยง ของตนเอง เจ้าของสัตว์แต่ละฝูงจะใช้แหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน เช่น เสียงจากกะลาเสียงจากกระป๋อง เป็นต้น สัตว์ที่เลี้ยงไว้จะจดจำเสียงนั้น ๆ ไม่มาปะปนกัน นอกจากนี้ ที่หนองหารยังมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ซึ่งเป็น เกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้างและพระพุทธรูปเก่าแก่ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสกลนคร มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมายถ้านักท่องเที่ยวไปหนองหารช่วงต้นเดือนตุลาคมก็จะได้ชมการแข่งเรือยาวกีฬาริมแม่น้ำที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณ และยังได้ทำบุญในงานบุญออกพรรษาประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยอีกเช่นกัน
ตั้งอยู่ที่ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร ใกล้สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา 80 พรรษา ชุมชนหนองหารหลวง เป็นการแสดงข้อมูลสภาพความเป็นมา และสภาพปัจจุบันของจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 9 ส่วน ได้แก่ ห้องโหมโรง นิทรรศการ “มหัศจรรย์ภูพาน” ห้องป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าพรุอีสาน ห้องหนองหารกับการตั้งเมืองสกลนคร ห้องคนสกลนคร ห้องอาศิรวาท องค์ราชัน องค์ราชินี ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ห้องดินแดนแห่งธรรม และประติมากรรมลานกลางแจ้ง และยังมีท้องฟ้าจำลองแหล่งเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ตลอดจนระบบสุริยะจักรวาล ให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปได้รู้จักอีกด้วย
วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงสร้างขึ้นพร้อมกัน กับพระธาตุนารายณ์เจงเวง หรือ อรดีมายานารายณ์เจงเวง โดยตั้งชื่อตามกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหารหลวง ในอดีตมีการแข่งขันกันสร้างปราสาทระหว่างชายและหญิงบทสรุปฝ่ายหญิงชนะ จึงได้ขอแบ่งพระอุรังคธาตุ ให้ประทับไว้ที่พระธาตุ-นารายณ์เจงเวงแต่เพราะผิดสัจจะ ใช้กลลวงกับกลุ่มฝ่ายชาย พระมหากัสสปะเถระจึงปฏิเสธแล้วนำ พระอุรังคธาตุไปบรรจุที่ภูกำพร้าหรือพระธาตุพนมในปัจจุบันนั้นเอง ตัวพระธาตุสร้างด้วยหินทราย ลักษณะปรางค์เป็นแบบขอมโบราณตามยุคสมัย ข้างในพระธาตุนั้นบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนหนึ่งไว้ ทำให้วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นสถานที่สักการะที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งประจำจังหวัดสกลนคร
สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถาน ซึ่งมีตำนานเล่าว่า ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิง ที่ต้องการบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในวิหารบ้านเมืองของตัวเอง โดยตกลงกันว่าหากใครสร้างวิหารเสร็จ ก่อนดาวเพ็กจะบินขึ้นบนฟ้าฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ กลุ่มผู้ชายที่สร้างพระธาตุได้ยุติการสร้าง เมื่อเห็นดาวเพ็กปลอมซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิง ทำให้พระธาตุ ไม่เสร็จสมบูรณ์ ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็กตามชื่อดาว “เพ็ก” ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันได 491 ขั้น ตัวองค์พระธาตุนั้นสร้างด้วยหินทรายผสมผสานกับศิลปะโบราณสมัยก่อนซึ่งนักท่องเที่ยวหลายคน การันตีแล้วว่าชั้นสูงสุดของพระธาตุภูเพ็กนั้นสวยงามเหมาะสำหรับชมวิวและถ่ายภาพเก็บไว้เป็นอย่างมาก
ไปดูกันว่าแต่ละคนเกิดวันไหน และมีพระธาตุปร…
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร ร่วมกับ 60 ชุมชน ดำเนินโค…
อยากชวนเธอไปกางเต้นท์ ไปไหมเธอ! รวบรวมมาแล้ว!!! 10 สถาน…
สวยสุดๆ วิวปัง เรียกได้ว่าใครมาจังหวัดอุบลราชธานี จะต้อ…
วัดพระธาตุหนองแวง ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก…
ใกล้ปีใหม่แล้ว หลายคนที่ไปทำงานอยู่ไกลบ้าน ต้องมีความรู…