เสน่ห์เมืองสกลนคร ที่มากมากล้นด้วยวัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะวัฒนธรรม อันสวยงาม ทำให้เกิดการลุ่มหลงสำหรับหลายคนที่มาเที่ยว เราไปดูว่าเสน่ห์เมืองสกลนคร มีอะไรบ้างไปชมกันครับ
1. การแข่งขันเรือยาวประเพณี
ที่นี่ สระพังทอง ริมหนองหารแห่งนี้ เป็นสนามแข่งเรือน้ำนิ่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานอย่างคับคั่ง หากเราย้อนไป เมื่อสักร้อยกว่าปี ที่นี่ปรากฎหลักฐานสำคัญ ในสมัยเจ้าคุณพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร ตอนนั้นก็ได้มีเจ้าเมืองต่างๆ มาส่งทีมเรือเข้าแข่ง ประชันฝีมือกัน เห็นไหมละครับว่า การแข่งเรือของสกลนคร ยั งคงมีความครื้นเครง เป็นเสน่ห์ที่ยากจะลืมลง หากใครก็ตามแต่ที่เคยได้เข้าร่วมการแข่งขันเรือที่นี่ จงรายงานตัวมา รายงานให้พวกเรารู้ว่า ทุกท่านคือผู้สืบสาน ความเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ของสกลนคร
2. ฟ้อนภูไทสกลนคร
นี่คงเป็นการแสดงที่งดงามอีกการแสดงหนึ่ง ผู้ที่เกิดเป็นหญิงลูกหลานสกลนครหลายคน คงได้เคยสวมใส่ชุดภูไท แล้วได้ร่วมร่ายรำฟ้อนภูไทสกลนคร แต่ก็ไม่ใช้ทุกคนที่จะมีโอกาสนี้ แต่เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยเห็นการแสดงนี้ผ่านตามาบ้าง ฟ้อนภูไทสกลนคร คือเครื่องมือแสดงอัตลักษณ์ของศิลปะวัฒนธรรมของบ้านเราได้เป็นอย่างดี สิ่งที่รู้สึกได้ ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยตาเปล่า นั้นก็คือความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องชาวภูไท เสียงกลอง พิณแคน บรรเลงเป็นทำนองภูไท สอดประสานกับท่าบัวตูม ท่าบัวบาน ท่าม้วนช้าง และอื่นอีกหลากหลายท่า เห็นแล้วน่าประทับใจ พร้อมกับต้องทึ้ง ในความสามารถของคนสกลนคร ที่ได้รังสรรค์การแสดงนี้ขึ้นมาได้อย่างลงตัว แล้วคุณละ เคยฟ้อนไหม ถ้ายังไม่เคยลองไปเปิดยูทูปแล้วหัดฟ้อนลองดูครับ
3. รำมวยโบราณสกลนคร
การแสดงนี้ ถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยชาย 2 คน ชื่อว่า จำลอง นวลมณี และ อาคม พรหมสาขา ณ สกลนคร รู้ไหมครับการแสดงนี้ คือการรวบรวมท่าทางของการปราบมวยโบราณของที่ดีที่สุด จากสำนักต่างๆ โดยเฉพาะท่าทางการต่อสู้ของชาวไทใหญ่ ที่เคยเข้ามาค้าขายในสกลนคร ท่วงท่าลีลาอ่อนช้อยและแข็งแกร่ง หากสังเกตกันดีๆ ท่ารำมวยโบราณสกลนคร นั้น จะเห็นการผายมือและสลับกับกำกำปั้น เพราะ การต่อสู้ที่เรีกว่าปราบมวย ไม่นิยมใช้กำปั่นเพียงแต่ใช้ ฝ่ามือ ในการปัดป้องเท่านั้นครับ เห็นแล้วรู้สึกดีมากๆ ครับ ที่บ้านเรามีศิลปะแบบนี้อยู่คู่บ้านเมืองของเรา
4. รำหางนกยูงบนหัวเรือ
ทุกๆ ปี ก่อนการแข่งขันเรือยาวประเพณีช่วงเดือน 11 สระพังทอง ริมหนองหาร แห่งนี้ คือสถานที่ที่รวมเอาคนที่มีความสามารถด้านการรำหางนกยูง เสน่ห์ก็คือ การนำแสดงชายถือหางกำยูง ยืนร่ายรำประกอบเพลงภูไท ที่นำท่าทางมาจากการรำมวยโบราณและนกยูงรำแพน ยืนรำบนหัวเรือประกอบเพลงลายภูไทน้อยและลายภูไทใหญ่ ในขณะที่เรือกำลังแล่นผ่านน้ำไปเรื่อยๆ พร้อมกับความเชื่อที่ว่า นี่จะเป็นการบวงสรวงต่อแม่ย่านางเรือ และปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย รวมทั้งเป็นการข่มขวัญคู้ต่อสู้ เห็นแล้วนี่เป็นเสน่ห์แฝงไปด้วยความหมาย ขอบคุณคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มนักเเสดงที่เรียกกลุ่มของตนว่านาคเล่นน้ำ กลุ่มนี้คือกลุ่มวัยรุ่นที่พยายามสืบสานการแสดงเหล่านี้ไว้
งานกาชาดจังหวัดสกลนคร ถูกจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เป็นป…
วัดถ้ำผาแด่น เป็นหนึ่งในหลายๆ วัดของจังหวัดสกลนคร ที่มี…
แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของจังหวัดสกลนคร ดินแดนแห่งธรรมประ…
ร้านยำเปิดใหม่สกลนคร ต้นตำรับความนัวจากขอนแก่น ดูปองดอง…
โรงพยาบาลสกลนครประกาศเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19…
หนองหารในอดีตเคยเป็นที่สร้างบ้านแปงเมือง ดังปรากฎหลักฐา…